วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงงาน is เรื่องกล้วยฉาบมันฉาบ

           กล้วยฉาบมันฉาบ

  ชื่อเรื่อง : กล้วยฉาบมันฉาบ
ผู้จัดทำ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
               นางสาว ฐิติมา   ก้อนทอง  เลขที่ 10
               นางสาว ศิริวรรณ  เพลาขุนทด เลขที่  15
               นางสาว อทิตยา  แก่นลา  เลขที่  19
               นางสาว กาญจนา  จันทสิงห์  เลขที่ 21
               นางสาว ชลดา  พิมพ์ไชย  เลขที่  22
ที่ปรึกษา : คุณครู  เขมิกา  กุลาศรี
ปีการศึกษา : 2559
บทที่ 1

บทนำ
       แนวคิด ที่มา และความสำคัญ         
            เนื่อง จากกล้วยน้ำหว้า/มันแกวเหลือง ที่หาง่ายในชุมชน  และยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  เราจึงคิดนำกล้วยน้ำหว้า/มันแกวเหลือง มาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ/มันฉาบ ที่สามารถทำกินเองได้ภายในครอบครัวและสามรถสร้างงานสร้างอาชีพแก่คนในครอบ ครัวและชุมชนได้

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อแปรรูปเป็นอาหารว่างให้ง่ายต่อการรับประทานยิ่งขึ้น
      2.  เพื่อศึกษาวิธีทำกล้วยฉาบ/มันฉาบง่ายๆ  จากพืชที่ใกล้ตัวและมีปริมาณมากในชุมชน

ขอบเขตของโครงงาน
1.ใช้กล้วยน้ำหว้า/มันแกวเหลืองในการทำกล้วยฉาบ/มันฉาบ
2.ใช้น้ำตาลทรายขาว
3.ใช้เนยสด

ระยะเวลาและสถานที่ทำการศึกษารายงานโครงงานแบบวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน ระหว่างวันที่12 พฤศจิกายน  2559 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2560
สถานที่เนินงานคือ บ้านของนางสาวอทิตยา แก่นลา
บ้านเลขที่ 156 ม.11 ต.โซง  อน้ำยืน จ.อุบล 3426

ผลที่คาดว่าจะได้รับ  
     1. ได้รับความรู้จากการทำกล้วยน้ำหว้า/มันแกวเหลือง
       2 . ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
        3.  ฝึกฝนความอดทนและความสามัคคีภายในกลุ่ม
     4. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขนมคบเคี้ยว


บทที่2

เอกสารเกี่ยวข้อง

     กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด
คุณค่าทางอาหารและยา

กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย 
การจำแนกกล้วยตามวิธีการนำมาบริโภคสามารถแบ่งกล้วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กล้วยกินสด เป็นกล้วยที่เมื่อสุกสามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน เพราะเมื่อสุก เนื้อจะนิ่ม มีรสหวาน เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร เป็นกล้วยที่เมื่อดิบมีแป้งมาก เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อสุกยังมีส่วนของแป้งอยู่มากกว่ากล้วยกินสดมาก เนื้อจึงไม่ค่อยนิ่ม รสไม่หวาน ต้องนำมาต้ม เผา ปิ้ง เชื่อม จึงจะทำให้อร่อย รสชาติดีขึ้น เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด
สรุปแล้ว ในเชิงพาณิชย์ในยุโรปและอเมริกา (แม้ไม่จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก) ได้แยกความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" ซึ่งรับประทานสดและ "กล้าย" ที่ใช้ประกอบอาหาร ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีกล้วยหลายชนิด และไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างกล้วยทั้งสองกลุ่ม และไม่มีการแยกคำในภาษาถิ่น กล้ายเป็นหนึ่งในกล้วยหลายชนิดที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งไม่แตกต่างจากกล้วยรับประทานสด
สรูปแล้วในเชิงพาณิชย์ไนยุโรปและอเมริกา(แม้ไม่จัดเป็นพื้นเพาะปลูกขนาดเล็ก)ได้แยกความแตกต่างระหว่าง กล้วย ซึ่งรับประทานสดและ กล้วย ทีใช้ประกอบอาหาร ขณะที่ในพ็นที่อื่นๆของโลกโดยเฉพาะอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีกล้วยชนิด และไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างกล้วยทั้งสองกลุ่ม และไม่มีการแยกคำในภาษาถิ่น กล้าย เป็นหนึ่งในกล้วยหลายชนิดที่ใช้ประกอบอาหารซึ่งไม่แตกต่างจากกล้วยรับประทานสด

เราคงจะไม่ปฏิเสธว่า กล้วย เกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนใทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง สิ้นอายุขัย

กล้วยน้ำว้า ถึงจะเป็นผลไม้ ที่ไม่น่าจะให้พลังงานได้เยอะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า กล้วยเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดี ในกล้วย 1 ผล สามารถให้พลังงานได้ร่วม 100 แคลอรี่ มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ 3 ชนิด ทั้ง ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโครส รวมไปถึงเส้นใยและกากอาหาร และอุดมด้วย วิตามินบี 6 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แถมแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ที่ช่วยป้องกันโรคความดันอีก



ในบรรดากล้วยทั้งหมด กล้วยน้ำว้าให้แคลเวียมสูงสุด นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 ซี และไนอะซิน (บี 6) ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน แต่ที่ทำให้กล้วยน้ำว้า มีคุณค่าสารอาหารที่พิเศษกว่ากล้วยชนิดอื่น นั่นก็คือ โปรตีนที่อยู่ในกล้วยน้ำว้า มีกรดอะมิโน อาร์จินิน และฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ถึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมตอนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ถึงให้เรากินกล้วยบด เพราะอุดมด้วยสารอาหาร และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเรานั่นเอง

ปลูกกล้วยกระถาง ปลูกกล้วยบอนไซปลุกกล้วยเป็นอาชีพอิสระ เพือการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้พืนที่ในการปลุกทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะคิดมักจะคิดว่าข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหารหลังทังๆที่มีอาหารอื่นทั้งหาได้ไม่ยาก และมีคุณค่าทางอาหารมากมายเราได้แต่ฝันว่า สักวันหนึ่งคนไทยจะหันมาให้ความสำคัญกับกล้วยมากกว่านี้และเมี่อนั้นกล้วยเป็น พืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆของไทยทีเดียว

การทำกล้วยฉาบก็เช่นกัน ถือ เป็นมานำเอากล้วยมาประยุกต์หรือแปรรูปเพื่อเก็บไว้รับประทานเป้นภูมิปัญญา ชาวบ้านที่รู้จักการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่มีมาแต่โบราณและนำมาประกอบเป็น อาชีพได้เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพเสริมหรืออาชีพอิสระได้ ป็นอาชีพที่สุจริตอีกด้วย

มันแกว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในหลายพื้นที่เช่นในแถบอเมริกากลาง แอฟริกาตะวันออก และในประเทศแถบทวีปเอเชียคือ ฟิลิปปนส์ อินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า "หัวแปะกัวะ" ภาคเหนือเรียกว่า "มันละแวก" "มันลาว" ส่วนภาคอีสานเรียกว่า "มันเพา" นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่นๆ เช่น "เครือเขาขน" "ถั้วบ้ง" และ"ถั่วกินหัว"
 ส่วนหัวของมันแกว (รากแก้ว) เป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ลักษณะภายนอกมีสีน้ำตาลอ่อนภายในมีสีขาว เมื่อเคี้ยว รู้สึกกรอบคล้ายลูกสาลี่สด อีกทั้งยังมีรสคล้ายแป้งแต่ออกหวาน โดยทั่วไปจะรับประทานสดๆ หรือจิ้มกับพริกเกลือ แล้วยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น แกงส้ม แกงป่า ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไข่ เป็นส่วนผสมของไส้ซาลาเปา และทับทิมกรอบ

แต่ในทางกลับกัน ต้นมันแกวสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้ส่วนของเมล็ด ฝักแก่ ลำต้น และราก แต่ส่วนเมล็ดจะมีสารพิษมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงดีที่สุด นอกจากนั้นถ้ามนุษย์รับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมาก สารพิษ Routinone จะกระตุ้นระบบหายใจ แล้วกดการหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้
 คุณค่าทางอาหารของมันแกวนั้นประกอบด้วยน้ำ 90.5% โปรตีน 0.9% คาร์โบไฮเดรต 7.6% โดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose ซึ่ง inulin ในร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถเผาผลาญได้ ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ควบคุมน้ำหนัก
 มันแกวควรเก็บในที่แห้ง อุณหภูมิระหว่าง 12 - 16 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทำให้ส่วนรากช้ำได้ ถ้าเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน
    3. น้ำตาลทรายขาว

น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย(sugar cane) , ต้นตาล(sugar palm),ต้นมะพร้าว (coconut palm),ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล(sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคสเป็นที่เก็บพลังงานที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยาของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส

การผลิต

น้ำตาลทราย หรือ ซูโครส สกัดได้จากพืชหลายชนิด คือ

1.อ้อย(Sugarcane-Saccharumspp.)มีน้ำตาลประมาณ12%-20%โดยน้ำหนักของอ้อแห้ง 
2.ต้นบีท (sugar beet-Beta vulgaris)
3.อินทผลัม (date palm-Phoenix dactylifera)
4.ข้าวฟ่าง (sorghum-Sorghum vulgare)
5.ซูการ์เมเปิล (sugar maple-Acer saccharum)
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545มีการผลิตน้ำตาลจากทั่วโลกประมาณ 134.1 ล้านตัน ประเทศที่ผลิตน้ำตาลจากอ้อยส่วนใหญ่เป็นประเทศในเขตร้อน เช่น ออสเตรเลีย บราซิล และประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544-2545 มีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นสองเท่าในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปริมาณน้ำตาลที่ผลิตมากที่สุดอยู่ใน ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาและชาติในกลุ่ม แคริบเบียน และ ตะวันออกไกล แหล่งน้ำตาลจากต้นบีทจะอยู่ในเขตอากาศเย็นเช่น: ตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของยุโรป ญี่ปุ่นตอนเหนือ และบางพื้นที่ในสหรัฐอเมริการวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย ผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก คือสหภาพยุโรป ตลาดน้ำตาลยังถูกโจมตีโดยน้ำเชื่อมกลูโคส (glucose syrups) ที่ผลิตจากข้าวสาลีและข้าวโพดร่วมทั้งน้ำตาลสังเคราะห์ (artificial sweeteners) ด้วย ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีต้นทุนถูกลง
บทที่ 3

วิธีการศึกษาค้นคว้า

           
วัตถุประสงค์    
:เพื่อหารายได้เสริม  โดยไม่ต้องขอเงิผู้ปกครองใช้
ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง
: ประชากรนักเรียนในโรงเรียนน้ำยืนวิทยา
วัสดุที่ใช้
1.  กล้วยหอม                       10     ผล
2.   มันแกวเหลือง               10     ผล
3. เกลือป่น                           1       ช้อนชา                    
4.น้ำตาลทราย
                    2       ช้อนโต๊ะ                     
5. น้ำ                                     1        ถ้วยตวง                      
6. น้ำมันพืช                        2       ถ้วยตวง
7.เนยสด      

                     
วิธีการทำ
 1. เลือกกล้วย/มันแกวเหลือง ที่แก่จัด ตัดจากต้น ถ้าซื้อต้องไม่ผ่านการบ่มแก๊ส  
2 .เตรียมน้ำใส่กะละมังใหญ่ ใส่เกลือกันกล้วยดำ 
3. ปอกกล้วย/มันแกวเหลือง แช่น้ำ ยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำแล้ว
4. ใช้ที่ปอกแตง ทำอย่างรวดเร็ว ให้กล้วยเต็มกระทะพอดี  ถ้าช้ากล้วยจะสุกไม่เสมอ   ถ้าใส่กล้วยมากจนคับกระทะ กล้วยจะติดกันคนยาก
5. เตรียมตักขึ้น สะเด็ดน้ำมัน
6 .พักในหม้อให้เย็น ตอนนี้จะกรอบ ข้อระวัง ถ้ายังไม่ฉาบทันที ต้องเอาใส่ ถุงห่อ 2 ชั้น มัดยางให้แน่นทั้ง2ชั้น
7. ขั้นฉาบ  ใส่น้ำ  น้ำตาลทราย(ดูปริมาณกล้วย)+เนยเค็ม(เต็มช้อนส้อม)+เกลือ(ครึ่งช้อนชา)  ตั้งให้เดือด  คนได้ที่เป็นน้ำเชื่อม   แล้วก็ใส่กล้วย  คลุกเบาๆ  ให้เข้ากัน
8. ตักขึ้นแล้วนำมา กระจายในถาด เพื่อไม่ให้กล้วยติดกัน
9. ตั้งกระทะไฟกลาง(อีกรอบ)  ใส่น้ำมัน (ใหม่)   แล้วเอากล้วยที่ฉาบน้ำตาลแล้ว ลงไปทอด (ทดลองก่อน1ชิ้น ถ้าทิ้งลงไปแล้วน้ำมันฟู ใช้ได้ ถ้าทิ้งไปแล้วนิ่ง จมดิ่งลงก้นกระทะ ใส่ใบเตยหอมลงในน้ำมันทุกครั้ง)
10.  ตักขึ้น ให้สะเด็ดน้ำมัน (สังเกตสีวาวๆ) พอเย็นก็สามารถนำมารับประทานได้

การวิเคราะห์ข้อมูล
    หลังจากที่ได้ทำแล้วนำออกไปจำหน่าย  แล้วได้ สรุปผลทุน-กำไร  ดังนี้
ทำครั้งแรกเมื่อวันที่  12  พ.ย 2559  ทุน 500  บาท ได้กำไร 220  บาท  
ำครั้งที่สองเมื่อวันที่  4  ธ.ค 2559 ทุน 300 บาท  ได้กำไร 450 บาท
รวมยอดได้กำไร 670 บาท

**หมายเหตุ   นำทุน 500บาทในครั้งแรกมาลงทุนในครั้งที่สอง 300 บาท
 : นำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะมาประมวลผลได้


สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

              : สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อใช้บรรยายลักษณะข้อมูลที่เก็บมาได้ โดยใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติของนางสาวอทิตยา แก่นลา

 สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวอทิตยา แก่นลา ชื่อเล่นตอง อายุ 17 ปีค่ะ เกิด วันอังคารที่ 6 กรกฎ 2542 ราศี กรกฎ เลือดกรุ๊ป b สัญชาติ ไทย นับถือศาสนา พุทธ ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ที่ รร. น้ำยืนวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ค่ะ ขอบคุณค่ะ.